Ad Code

Responsive Advertisement

เคล็ดไม่ลับในการใช้งาน NAS ให้ราบรื่น


ไม่ว่าท่านจะใช้ NAS ของค่ายไหนก็ตาม แต่พื้นฐานการทำงานจะคล้ายกัน เพื่อให้การใช้งานราบรื่น เราจะแนะนำข้อปฏิบัติพื้นฐานที่พึงระวังดังนี้


การปิดเครื่อง เมื่อไม่ใช้งาน (Shut Down)

NAS ก็จะมีการทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป หากต้องการปิดเครื่องเมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้ว ก็ควรสั่งให้ปิดเครื่องด้วยการ Shut Down เหมือนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฎิบัติการอื่นๆ โดยคำสั่งนี้จะสามารถใช้งานได้เฉพาะบัญชีผู้จัดการระบบ หรือ สามารถกดปุ่มที่หน้าเครื่องให้ถูกต้อง โดยสามารถดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ ที่ได้เคยอธิบายขั้นตอนไว้แล้วตามลิ้งค์นี้

การปิดเครื่อง (Shut Down) NAS อย่างถูกวิธี

ใช้งานผ่านเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) 

ในหลายกรณีพบว่า NAS เกิดปัญหาขึ้นหลังเกิดไฟฟ้าดับ ซึ่งจะทำให้ NAS ดับทันที และถ้าในขณะนั้นฮาร์ดดิสก์กำลังบันทึกข้อมูลอยู่ อาจทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหายได้ หรือ ได้รับผลกระทบจากแรงดันไฟฟ้าที่ไม่ปกติ ไฟตก ไฟกระชาก (Power Surge) อาจมีผลทำให้เมนบอร์ดเสียหาย

จึงแนะนำให้จัดหาเครื่องสำรองไฟฟ้ามาช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ และหากเป็นรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับ NAS ผ่านสาย USB เพื่อสั่งให้ Shut Down ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เครื่องจะเริ่มเข้าสู่การ Shut Down อัตโนมัติ ก่อนเลือกซื้อ UPS ขอแนะนำให้ตรวจสอบความเข้ากันได้ Compatibility กับเว็บไซต์ผู้ผลิต NAS ที่ท่านใช้งานด้วย

ในตัวอย่างนี้จะเป็นการตั้งค่า APC UPS กับ Synology NAS

เริ่มด้วยการนำสาย USB โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแบบ Male USB A to Male USB B ลักษณะเดียวกับที่ใช้กับเครื่องพิมพ์นำมาเชื่อมต่อระหว่าง USB กับ NAS

ล๊อคอินด้วยบัญชีผู้จัดการระบบเข้าสู่ Control Panel เปิดใช้ Hardware & Power แล้วเลือกแท็บ UPS กดที่ปุม Device Information หากเป็นรุ่นที่ทำงานเข้ากันได้ จะแสดงรายละเอียดของ UPS ที่เชื่อมต่อกันให้เห็น

ให้ติ๊กเปิดการใช้งาน  

                   ✓ Enable UPS support เปิดการใช้งานปิดเครื่องด้วย UPS

                   ✓ Time before DeskStation enters Safe Mode 

                        ระบุเวลาที่จะให้ Shut Down หลังไฟดับแล้วกี่นาที

                   ✓ Shutdown UPS when the systems enters Safe Mode 

                   กด Apply เพื่อบันทึกค่า


หากต้องปิดเครื่องทุกวัน แนะนำให้ตั้งเวลา เปิด-ปิดเครื่องจะสะดวกกว่า

หากเป็นการทำงานในออฟฟิศและมีผู้เข้าทำงานเป็นเวลา แนะนำให้ตั้งเวลาเปิด-ปิดล่วงหน้าล่วงหน้าก็จะได้รับความสะดวก อาจต้องเผื่อเวลาก่อนและหลังเลิกงานให้เหมาะสม เพราะอาจมีพนักงานยังต้องใช้งาน NAS อยู่ 


เปิดการใช้งานโดยการเข้าสู่ Control Panel เปิดใช้ Hardware & Power แล้วเลือกแท็บ Power Schedule กด Create เพื่อกำหนดเวลา เปิด-ปิดการใช้งาน   

                    เลือกการทำงาน Startup หรือ Shutdown
                    Date : เลือกวัน เช่น Daily, Weekend, Weekdays, Monday, Tueday..
                    Time : เลือกเวลา ที่จะให้ทำงานที่กำหนด
                    ติ๊ก 
✓ Enabled
                    กด OK

                    เลือกการทำงานอื่นต่อไปจนตรงความต้องการ


    

เมื่อกำหนดการเปิด-ปิดเครื่องเสร็จแล้ว จะมีลักษณะให้เห็นตามรูปข้างล่าง สามารถลบหรือแก้ไขได้

               


ข้อควรทราบในการใช้งานเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งภายใน NAS

- ฮาร์ดดิสก์ที่จะนำมาใช้งานกับ NAS ไม่ว่าตั้งแต่เริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการ หรือ นำมาใส่เพิ่มในภายหลัง หากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ข้อมูล ต้องแน่ใจว่าไม่ต้องการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อีก เพราะข้อมูลจะถูกลบและไม่สามารถกู้คืนได้ เคยพบว่ามีผู้ใช้งานที่นำฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานกับระบบปฏิบัติการ Windows มาใส่ใน NAS โดยตรง โดยเข้าใจว่า NAS จะอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่ใส่เข้าไปใหม่ได้ ผลคือข้อมูลถูกลบนะครับ

        การจะนำข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์เข้าสู่ NAS ทำได้ 2 วิธี คือ
        - Copy ผ่านแชร์โฟลเดอร์จากระบบปฏิบัติการ Windows 
        - นำฮาร์ดดิสก์ที่มีข้อมูลนี้ใส่ External HDD Enclosure แล้ว Copy ผ่าน USB Port

- ห้ามดึงฮาร์ดดิสก์ออกมาระหว่างเครื่อง NAS ยังเปิดทำงานอยู่ หากเผลอดึงออกมา การจะใส่กลับไปจะมีขั้นตอน Recover หากไม่แน่ใจให้ติดต่อฝ่ายบริการเทคนิคของผู้ผลิตรายนั้นๆ 

- และยิ่งไปกว่านั้น ห้ามดึงฮาร์ดดิสก์ออกมาพร้อมมากกว่าหนึ่ง ในระหว่างเครื่อง NAS ยังเปิดทำงานอยู่ เพราะอาจทำให้ RAID ที่สร้างไว้อาจอยู่ในสถานะไม่ทำงาน (inactive) และมีโอกาสสูงมากที่สูญเสียข้อมูลที่อยู่ภายใน ให้ติดต่อฝ่ายบริการเทคนิคของผู้ผลิตรายนั้นๆโดยด่วน

ในบางครั้งพบว่าผู้ใช้งานต้องการเปลี่ยนตำแหน่งของฮาร์ดดิสก์ เพื่อให้มีการเว้นช่องว่างให้การระบายอากาศให้ดีขึ้น แม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนโดยการปิดเครื่อง NAS แล้วก็ตาม แต่การย้ายตำแหน่งแบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะไม่ใช่ NAS ทุกรุ่น หรือ Firmware ทุกเวอร์ชั่น จะมีความสามารถในการจดจำฮาร์ดดิสก์ได้เสมอไป บางท่านไปเห็นเพื่อนทำได้ และจะนำมาใช้กับเครื่องของตัวเองบ้าง แบบนี้ก็จะมีความเสี่ยง

- การคอนฟิกให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานแบบ Single Disk ทุกช่อง และเมื่อข้อมูลเต็ม อยากจะดึงออกเพื่อเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่แบบ Disk Docking ไม่ได้นะครับ มีความเสี่ยงที่ฮาร์ดดิสก์ที่ถูกถอดออกไป และฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ใน NAS จะรวนได้ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานแบบ Single Disk แนะนำให้ทำการสำรองคอนฟิก (Configuration Backup) เก็บไว้บ่อยๆ จะได้นำมาใช้เมื่อเกิดปัญหาได้



- หากมีการใช้งาน SSD Cache ร่วมด้วย และเปลี่ยนใจไม่ต้องการใช้งาน หรือต้องการเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้น ต้องมีการไปกำหนดใน Storage Manager ก่อนเสมอ ไม่สามารถเอาออกได้แม้ว่าจะทำตอนปิดเครื่องแล้วก็ตาม ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลใน Volume ที่ใช้งานกับ SSD Cache นั้นได้


Close Menu