Ad Code

Responsive Advertisement

การติดตั้ง ADM ระบบปฎิบัติการสำหรับ ASUSTOR NAS


ADM (ASUSTOR Data Master) เป็นระบบปฎิบัติการหรือเฟิร์มแวร์ที่ใช้ขับเคลื่อน ASUSTOR NAS ก็เหมือนกับเฟิร์มแวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด การติดตั้งหรือตั้งค่าการใช้งาน ADM จะใช้ผ่านเว็บบราวเซอร์ ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับ ASUSTOR NAS เราขอแนะนำให้ติดตั้งโปรแกรม ASUSTOR Control Center เพื่อความสะดวกในการค้นหาไอพีแอดเดรสของ ASUSTOR NAS หรือหากมีโปรแกรมหรื แอพพลิเคชั่นสแกนหาไอพีในเน็ตเวิร์คอยู่แล้วก็ได้ 


ขั้นตอนการติดตั้ง ADM มีดังนี้

1. ใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปใน ASUSTOR NAS ตามที่เราต้องการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องใส่ให้เต็มทุกช่อง แต่ที่สำคัญคือหากนำฮาร์ดดิสก์ที่เคยใช้งานมาก่อน ต้องแน่ใจว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการแล้ว เพราะระบบจะมีการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่ ข้อมูลที่มีอยู่จะถูกลบ และไม่สามารถกู้คืนได้ 


2. เสียบสาย LAN ระหว่าง ASUSTOR NAS กับ Router หรือ อุปกรณ์เน็ตเวิร์คภายในองค์กร ที่สามารถรับค่าไอพีแอดเดรสจาก DHCP Server ได้ 


3. เปิดเครื่อง ASUSTOR NAS รอสักครู่เพื่อให้เครื่องพร้อมทำงาน ใช้โปรแกรม ASUSTOR Control Center เพื่อหาอุปกรณ์ หากพบจะแสดงไอพีแอดเดรส ให้กดดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเริ่มขั้นตอนการติดตั้งเฟิร์มแวร์


4. เมื่อติดต่อกับ ASUSTOR NAS ครั้งแรกที่ยังไม่ได้ลงระบบปฎิบัติการ ADM จะมีหน้าจอแจ้งว่าระบบจะทำการติดตั้งระบบใหม่ Initialize Your NAS โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า 

"ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดจะถูกลบและกู้คืนไม่ได้"
"ระหว่างการติดตั้ง ADM ห้ามปิดเครื่อง หรือ ถอดฮาร์ดดิสก์"

เมื่อแน่ใจแล้วว่าจะดำเนินการต่อ ก็กดเครื่องหมายด้านข้าง เพื่อไปขั้นตอนต่อไป





5. ADM Upload จะให้เลือกวิธีการนำอิมเมจของระบบปฎิบัติการ ADM มาติดตั้ง หาก ASUSTOR NAS อยู่ในเน็ตเวิร์คที่สามารออกอินเตอร์เน็ตได้ ให้เลือกอันแรก คือ Live Update ซึ่งจะได้เวอร์ชั่นล่าสุดมาติดตั้ง สะดวกและง่ายมาก

แต่หากออกอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ก็ใช้วิธี Manual Update โดยการไปหาคอมพิวเตอร์ที่สามารถออกอินเตอร์เน็ตได้ ไปดาวน์โหลด ADM จาก ASUSTOR Download Center แล้วนำไฟล์ที่ได้มาไปอัพโหลดแบบนี้ก็จะยุ่งยากนิดหน่อย

จากนั้นก็ กดเครื่องหมายด้านข้าง เพื่อดำเนินการต่อไป

ระบบจะทำการล้างข้อมูล โดยการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่ ลงระบบปฎิบัติการ ADM และ รีสตาร์ทระบบ โดยใช้เวลาสักครู่


6. หลังจากเครื่องบู๊ตเสร็จแล้ว จะขึ้นหน้าต่าง ยินดีต้อนรับ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการระบบต่างๆ รวมถึงการสร้าง RAID ด้วย ในหน้าจอนี้จะมีให้เลือกระหว่าง 1-Click Setup กับ Custom Setup

1-Click Setup ดูเหมือนจะง่าย แต่ไม่แนะนำ เพราะหากไม่เข้าใจเรื่องคุณสมบัติของ RAID อาจจะทำให้ได้ RAID 0 มา ซึ่งไม่ปลอดภัยสำหรับการเก็บรักษาข้อมูล

แนะนำให้เลือก Custom Setup และกำหนด RAID ในแบบที่เราต้องการดีกว่า



7. Basic Settings
Enter Server name : ตั้งชื่อให้ ASUSTOR NAS
Enter the new password for 'admin' : ตั้งรหัสผ่าน ให้เดายาก แฮ็คยาก
Confirm password : ยืนยันรหัสผ่านให้ตรงกัน

* สำหรับเวอร์ชั่นใหม่ จะมีให้เลือกว่าจะใช้ username อะไรที่จะเป็นแอดมิน 
โดยให้เลือกระหว่าง Use the default account หรือ Custom
ถ้าเลือก Use the default account จะเป็น admin เหมือนเดิม
ถ้าเลือก Custom สามารถใส่ชื่ออื่น ที่ไม่ใช่ admin ได้ เพื่อความปลอดภัย



8. Date & Time Settings เลือก Time Zone, รูปแบบของการแสดง วัน-เวลา และการเทียบเวลา



9. กำหนดการให้ตั้งค่าไอพีแอดเดรสว่าจะเป็นแบบอัตโนมัติ หรือ กำหนดไอพีเอง



10. การกำหนดประเภทของ RAID ที่เราต้องการจากฮาร์ดดิสก์ที่เราใส่เข้าไปใน ASUSTOR NAS เลือกฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการนำมาเป็นสมาชิกของ RAID Group 

ติ๊กในช่องยืนยัน I confirm that I have read and understood the above   

กดเครื่องหมายด้านข้าง เพื่อดำเนินการต่อไป



11. ระบบจะทำการอัพเดท การติดตั้งค่าต่างๆ การจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อให้พร้อมใช้งาน ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาสักหน่อย ให้รอจนกว่าสถานะครบ 100%



12. ขั้นตอนสุดท้ายจะให้ลงทะเบียน ASUSTOR ID แต่เราสามารถเลือก Register Later เพื่อดำเนินการในภายหลังได้



13. เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนสำเร็จ เราก็สามารถเข้าไปจัดการผู้ใช้งาน การสร้างแชร์โฟลเดอร์ กำหนดสิทธิ และ กำหนดการใช้งานต่างๆผ่าน Control Panel นี้ต่อไป




Close Menu