Ad Code

Responsive Advertisement

QNAP Storage Management : Static Volume, Thin Volume, Thick Volume

สำหรับผู้ใช้งาน QNAP NAS หรือ สนใจกำลังจะนำมาใช้งาน นอกจากจะมีคำถามเกี่ยวกับการจัดการฮาร์ดดิสก์ RAID Management ก็มักจะมีคำถามเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage Management) เสมอว่าควรใช้งาน Volume แบบไหนดี ก่อนจะพิจารณาว่าควรเลือกใช้แบบไหน อยากให้ดูโครงสร้างการจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลก่อน

จากรูป ให้มองจากด้านล่างขึ้นข้างบน จะพบโครงสร้างเป็นลักษณะนี้

1. ฮาร์ดดิสก์หรือเอสเอสดี (HDD/SSD) เป็นพื้นฐาน ส่วนจะมีอินเตอร์เฟสแบบ SATA, SAS หรือ ฮาร์ดดิสก์จำนวนขึ้นกับ QNAP NAS แต่ละรุ่น

2. จากฮาร์ดดิสก์หรือเอสเอสดี จะมีการสร้าง Storage Pool ขึ้นมาเพื่อรองรับ Volume อีกที (Static Volume ไม่ได้ใช้ Storage Pool)

3. เมื่อสร้าง Storage Pool ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถสร้าง Volume หรือ LUN เพื่อใช้งานต่อไป

4. จาก Volume ที่สร้างขึ้นมา จึงจะสามารถสร้าง Shared Folder ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปเข้าถึง สามารถอ่าน/เขียน/แชร์ข้อมูลได้ ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่คุ้นเคย (แม้ว่าจะไม่เหมือนกัน)

การสร้าง Volume ก็จะคล้ายๆกับการสร้าง Patition บนฮาร์ดดิสก์ในระบบปฎิบัติการอื่น ดังนั้นการสร้างโวลุ่มก็ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานด้วย


ส่วนคำถามว่าควรจะใช้ Volume แบบไหน ก็ขึ้นกับลักษณะการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้ โดยแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและข้อดีแตกต่างกันไป


1) Static Single Volume : ถือว่าเป็นโวลุ่มพื้นฐานที่สุด มีโครงสร้างง่ายไม่ซับซ้อน พื้นที่จัดเก็บข้อมูลถูกกำหนดและกันพื้นที่ไว้ล่วงหน้า โครงสร้างฮาร์ดดิสก์ไม่ได้อยู่บน Storage Pool จึงทำให้มีความเร็วในการอ่านและเขียน (Read/write speed) ดีที่สุด แต่โวลุ่มแบบ Static ก็จะมีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถใช้คุณสมบัติอื่นได้เช่น Snapshot หรือ Qtier ได้


2. Thick Volume : โวลุ่มแบบนี้จะให้ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างโวลุ่มได้มากกว่าหนึ่ง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแต่ละโวลุ่มถูกกำหนดและกันพื้นที่ไว้ล่วงหน้า โดยโครงสร้างฮาร์ดดิสก์อยู่บน Storage Pool และขนาดพื้นที่โวลุ่มรวมกันสูงสุดเท่ากับขนาดของ Storage Pool ทำให้การจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้หยืดหยุ่นกว่าแบบ Static Single Volume  เพราะสามารถใช้คุณสมบัติระดับองค์กรแบบ Snapshot หรือ Qtier ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมใช้งาน Thick Volume เป็นอย่างมาก


3. Thin Volume : โวลุ่มแบบนี้จะให้ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพสูง ใช้คุณสมบัติระดับองค์กรแบบ Snapshot หรือ Qtier ได้เหมือน Thick Volume แต่มีคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งที่ยืดหยุ่นมากกว่า นั่นก็คือเพราะ Thin Volume กำหนดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแต่ละโวลุ่มได้ แต่จะมีลักษณะของการจองพื้นที่ไว้ก่อนเท่านั้น โดยพื้นที่ใช้งานไม่ได้ถูกกันเอาไว้ล่วงหน้าเหมือน Thick Volume พื้นที่จัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มขึ้นตามข้อมูลที่มีการบันทึกเข้าไปเท่านั้น ทำให้สามารถกำหนดขนาดโวลุ่มรวมกันสูงสุดมากกว่าขนาดของ Storage Pool ได้  

ยกตัวอย่างเช่น เรามี Storage Pool ขนาด 100TB อยากสร้าง Thin Volume ไว้ 3 โวลุ่ม โดยมีขนาดโวลุ่มละ 40TB ซึ่งรวมกันมีขนาด 120TB ก็สามารถใช้งานได้ ไว้เมื่อ Storage Pool ใช้พื้นที่จะเต็มแล้วค่อยซื้อฮาร์ดดิสก์มาขยาย Storage Pool ในภายหลัง (ปัจจุบันสามารถสร้าง Thin Volume ให้มีขนาดรวมกันได้ถึง 20 เท่าของ Storage Pool)

เนื่องจากพื้นที่ใช้งานไม่ได้ถูกกันเอาไว้ล่วงหน้าจึงทำให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลก็จะด้อยกว่าแบบ Thick Volume

อย่างไรก็ตามในระหว่างการใช้งาน Thin Volume เมื่อมีการลบข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานไปแล้ว พื้นที่ว่างยังไม่กลับมาทันทีเหมือน Static และ Thick Volume ต้องมีการเรียกพื้นที่คืน (Space Reclain) ด้วย ดังนั้นการใช้งาน Thin Volume จึงมักใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อใช้งานทรัพยากรฮาร์ดดิสก์ให้คุ้มค่าที่สุด โดยมีฝ่ายไอทีที่มีความชำนาญคอยตรวจสอบดูแลอยู่สม่ำเสมอ 


เพื่อให้เห็นภาพเปรียบเทียบข้อดี-ข้อด้อยของ Volume แต่ละแบบ สามารถสรุปได้ตามรูปนี้

- ในด้านความเร็วอ่าน/เขียน : Static Single Volume > Thick Volume > Thin Volume

- ความยืดหยุ่นในการใช้งาน : Thin Volume > Thick Volume > Static Single Volume

Close Menu